ประเพณีรับบัว ..โยนบัว
ประเพณีรับบัว โยนบัว ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มมาตั้งแต่ยุคสมัยใด โดยประเพณีได้เริ่มมาจาก กลุ่มชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในอำเภอบางพลี มีน้ำใจให้กันในการแบ่งบันสิ่งของให้กัน โดยประเพณีนี้มีการเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกับประวัติของหลวงพ่อโต
ซึ่งถ้าเคยอ่านประวัติของท่านจะทราบว่า หลวงพ่อโตท่านเป็นพี่น้องกับหลวงพ่อโสธร และหลวงพ่อวัดบ้านแหลม โดยหลวงพ่อโตได้ลอยน้ำมาหยุดที่ปากคลองสำโรง ชาวบ้านจึงด้วยกันชักรั้ง อัญเชิญนิมนต์ให้ขึ้นมากประดิษฐานอยู่ทีวัดบางพลีใหญ่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยตั้งแต่ได้มีการอัญเชิญหลวงพ่อโตให้ประดิษฐานทีวัดบางพลีใหญ่แล้ว
ชาวบ้านยังนิมนต์หลวงพ่อขึ้นเรือ แล้วแล่นเรือไปตามน้ำเพื่อให้ชาวบ้านได้นมัสการ ด้วยการเด็ดดอกบัวริมน้ำถวาย แต่ด้วยเรืออยู่ไกลจากตลิ่งจึงไม่สามารถยื่นมือไปวางดอกไม้ได้ จึงใช้วิธีการยืนดอกไม้เบาๆขึ้นไปบนเรือแทน
ส่วนประเพณีการรับบัวนั้น เนืองจากสมัยก่อนอำเภอบางพลี
มีแหล่งน้ำเยอะ มีดอกบัวขึ้นเยอะมากในช่วงหน้าฝน ชาวบ้านจึงนิยมเก็บดอกบัวไปถวายพระ มีความเชื่อกันว่า ก่อนหน้านี้มีกลุ่มคน 3 กลุ่มอาศัยอยู่ด้วยกันที่บางพลี แต่มาทั้งสามกลุ่มได้มีการแยกย้ายหาที่ทางทำกิน โดยถือฤกษ์ดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันเดินทางซึ่งในวันที่ออกเดินทางนั้น
โดยวันที่เดินทางเพื่อแยกตัวออกไปตั้งรกร้างหาที่อยู่ใหม่นั้น มีกลุ่มหนึ่งซึ่งคือชาวรามัญ ก่อนไปได้ไปเก็บดอกบัวในบึงไปมากมาย ชาวบ้านคนอื่นจึงถามว่าจะเอาไปทำอะไร ชาวรามัญบอกว่าจะนำไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด ดังนั้นทุกคนจึงช่วยกันเก็บดอกบัวให้ชาวรามัญเพื่อนำไปบูชาพระตามที่บอก เพื่อหวังว่าจะได้ รับอนิสงค์ในการทำบุญในครั้งนี้ด้วย
โดยในปีต่อๆมา ชาวรามัญก็ยังคงพายรอมารอรับดอกไม้ทุกปี
ซึ่งจะนำเรือขนาดใหญ่ และมีชาวรามัญหลายคนนั่งมาในเรือด้วย เพื่อทีจะมีรับดอกบัว โดยระหว่างที่พายเรือมาก็มีการร้องรำทำเพลงเป็นที่สนุกสนาน เมื่อคนบนฝั่งเห็นก็พลอยร่วมร้องเพลงไปด้วย และมีการเชิญคนในเรือขึ้นฝั่งมาทานอาหารและน้ำด้วยกัน โดยชาวเมืองบางพลีจะเป็นผู้เตรียมอาหารไว้ต้อนรับ เมื่อทานข้าวอิ่มแล้ว
ได้ดอกไม้เยอะพอสมควรแล้ว ชาวรามัญก็จะนำดอกไม้ไปไหว้หลวงพ่อโต และนำน้ำมนต์กลับไปด้วยเพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนดอกบัวที่เหลือชาวรามัญก็จะนำกลับไปไหว้พระคาถาพันเหมือนทุกปี โดยทั้งชาวรามัญและชาวบางพลีจะยึด ขึ้น 14 ค่ำเดือน 11 ของทุกที่จะจัดกิจกรรมร่วมกันกลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมา